Just another WordPress.com site

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็นงานที่ อาจารย์อำนวย
สั่งให้ไปตอนปิดเทอม ผมก็เลยไปกับเพื่อนๆ
งานนี้จัดที่พิพิธภัณฑ์รัตนโกสินทร์ใกล้กับวัดราชนัดดา
งานนี้จัดแสดงเป็นรอบๆ ภายในงานนิทรรศน์รัตน
โกสินทร์จะห้องแรก มีผู้บรรยายนำเกี่ยวกับชื่อถนน
หรือสิ่งของและประวัติต่างๆ ว่าสร้างขึ้นเมื่อได้
เพราะอะไรถึงเป็นชื่อนั้น ห้องที่สองจะเป็นห้องที่มีหู
ฟังจะเล่าถึงวิธิการทำทองคำเปรว ทำบาตรพระ
ทำแป้งดินสอพอง และอื่นๆ ห้องที่สามจะเกี่ยวกับ

กรุงเทพมหานครว่าชื่อเต็มคืออะไร และการวางผัง
เมืองจำลองของกรุงเทพ ในสมัยรัตนโกสินทร์ 
มีประวัติพระแก้วมรกตว่ามาจากไหนและมีพระแก้ว
มรกตจำลองเปลี่ยนเครื่องทรงในแต่ละฤดูด้วย


ห้องถัดมามีการจัดแสดงอาหารและของใช้ต่างๆ
ซึ่งงานเหล่านี้สมัยก่อนจะห้ามให้ผู้ชายเข้า ห้องถัดมาจะ
มีการฉ่ายการละเล่นในสมัยก่อนดูได้ 360 องศา
เลยละ และยังมีอีกมากมายเพื่อนๆก็ไปกันนะครับเพราะ
ทำให้เรารู้เรื่องต่างๆที่เราไม่เคยรู้

ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ เรื่องคนล่าเมฆ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำฝนหลวงที่พระเจ้าอยู่หัวคิด
ขึ้นเพื่อจะช่วยชาวบ้านในพื้นที่แห้งแล้งกันดารแต่ว่า
การทำฝนหลวงนั่นไม่ได้ทำง่ายๆเพราะมีกระบวน
การต่างๆเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อนมีอุปสรรคต่างๆแต่ก็
ไม่ย่อท้อเพราะทุกปัญหาต้องมีทางออกเสมอและได้
พยายามจนสำเร็จ

                                                                                              

ผมดูเรื่องนี้แล้วก็รู้สึกว่าพระองค์ทรงมีพระอัจฉริยะ
ภาพที่ก้าวไกลจึงมองเห็นปัญหาและสามารถแก้ไข
ปัญหาความทุกร้อนของราษฎรได้ในที่สุดเป็นอีก
เรื่องที่ดีมากเลยครับ

ภาพยนตร์เรี่อง”ราชประชานุเคราะห์”เรื่องนี้เป็น
เรื่องเกี่ยวกับมูลนิธิพระราชประชานุเคราะห์ เป็น
เรื่องของ หญิง2คนที่อยู่ในมูลนิธิและได้ช่วยเหลือ
คนอื่นมากมาย

หนังสั้นเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวนั้นไม่ได้นิ่งดูดายแต่อย่างใดเมื่อประชาชนทุกข์
ยากท่านคอยเฝ้าดูและหาทางที่จะช่วยเหลือพวกเรามา
โดยตลอด

ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ”เรื่องเดี่ยวกัน”เป็นเรื่อง
ที่แสดงให้เห็นถึงโครงการ3อย่างที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้ทำให้แก่ประชาชนชาวไทย
1.การเปลี่ยนจากการปลูกฝิ่นให้เป็นปลูกผลไม้เมือง
หนาวแทน
2.การส่งเสริมการทำฟาร์มโคนมและนำนมมาขาย
3.การใช้ทรัพยากรน้ำโดยสร้างเขื่อนกันน้ำเพื่อไม่
ไห้น้ำท่วมเข้าสู่กรุงเทพฯและจังหวัดอื่นๆใกล้เคียงอีก
ทั้งยังเป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังของน้ำไปหมุนใบ
พัดสร้างกระแสไฟฟ้าอีกด้วยและเก็บนำไว้เพราะน้ำ
เป็นสิ่งสำคัญกับเกษตรกร
ซึ่งเข้าสามารถนำเรื่องราวมาต่อกันได้ดีมากโดยใช้เรื่อง
ของเด็กผู้ชายคนหนึ่งเป็นตัวเชื่อมในตอนแรกของเรื่อง
ซึ่งเขาก็ทำขึ้นมาได้ดีมากครับ

  

ดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วทำให้ผมรู้ถึงพระมหากรุณาธิคุณ
ที่นายหลวงได้ทำให้กับคนไทยซึ่งโครงการแต่ละโครการที่
พระเจ้าอยู่หัวทำมันยากมากครับกว่าจะทำให้ชาวเขาเชื่อและ
ทำตามที่แนะนำกว่าจะส่งเสริมการเลี้ยงนมโคเพื่อให้คนไทย
มีนมกินทุกวันและกว่าจะสร้างเขื่อนกันน้ำเพื่อให้น้ำไม่ท่วม
และเกษตรกรและประชาชนมีน้ำมีไฟฟ้าใช้นี้คือสิ่งที่ในหลวง
ทำให้กับเรา

วันตรุษจีน

วันตรุษจีน หรือ วันขึ้นปีใหม่ ตามประเพณีของชาวจีน
ในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก
เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ
และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชน
เชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญ
มากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการ
ฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี 
สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลอง
ต่างกันไป ในประเทศไทย
ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีน
เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ของไทย ทุกคนต่างให้ความ
สำคัญต่างหยุดงาน หยุดเรียนเพื่อเฉลิมฉลองงานวันปีใหม่ของจีน

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือ วันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไป
ซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลาย
จะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่
ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่
ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือ วันรุ่งขึ้นหลังวันจ่ายจะไหว้ 3 ครั้ง คือ เช้า สาย บ่าย
ครั้งแรกจะไหว้ตอนเช้าเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ
เนื้อสัตว์สามอย่างได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือ ตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง
เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ครั้งที่สองจะไหว้ตอนสายเป็นการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้อง
ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน
กินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน
(ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษ
เงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น
ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล
และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกัน จะแลกเปลี่ยน
อั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่ายเป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวก
ขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง
พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี
วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน
คือ “ป้ายเจีย” เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่
เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ โดยจะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อ
ด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีน
ถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจา
ไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้า
ใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ อยู่ในพระราชวังบางปะอิน
เป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง
พระอัครชายาเธอ 1 พระองค์ พระราชโอรส 2 พระองค์
และพระราชธิดา 1 พระองค์ ที่สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ได้แก่
1.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2430
2.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430
3.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย
กรมพระเทพนารีรัตน์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2430
4.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2430
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของพระราชวังบางปะอิน
อยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สร้างด้วยหินอ่อน
แต่ละด้านของอนุสาวรีย์ประดับด้วยพระรูปเหมือนของทั้ง 4 พระองค์
แกะสลักด้วยหินอ่อน

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อยู่ในพระราชวัง
บางปะอินเป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของพระราชวัง
บางปะอิน ถัดจากหอวิฑูรทัศนา โดยมีลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยม
และยอดหกเหลี่ยมทรงสูง สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี
ประวัติ
เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคต ในระหว่างทาง
เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน ใน
วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งความรักแห่งนี้ขึ้น
พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม
พ.ศ. 2426 ซึ่งตรงกับวันที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคต
ครบรอบ 3 ปี

พระตำหนัก ตำหนัก และเรือนของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน
ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในของพระราชวังบางปะอิน
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในเพื่อเป็นที่ประทับ
เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานมา ณ พระราชวังแห่งนี้ โดยมีดังต่อไปนี้
พระตำหนัก
พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี           
พระตำหนักพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ตำหนัก
ตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี                                                           
ตำหนักเก้าห้อง
เรือน
เรือนเจ้าจอมมารดาแส                                                                               
เรือนเจ้าจอมเอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน และเจ้าจอมมารดาอ่อน

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ในเขตพระราชฐานชั้นในเป็นพระที่นั่งสองชั้น
สถาปัตยกรรมแบบจีนที่สวยมาก ตั้งอยู่ภายในพระราชวังบางปะอิน
สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี
พ.ศ. 2432 พระที่นั่งองค์นี้มีนามในภาษาจีนว่า เทียน เม่ง เต้ย
(อ่านแบบจีนกลางว่า เทียน หมิง เตี้ยน) แปลเป็นไทยว่า พระที่นั่งฟ้าสว่าง
(เทียน แปลว่า เวหา , เม่ง แปลว่า จำรูญ , เต้ย แปลว่า พระที่นั่ง) ใช้เวลา
ในการสร้างประมาณ 10 ปี และเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
ประวัติ
พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ
พ่อค้าใหญ่ชาวจีน โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์)
เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) และ หลวงโภคานุกุล (จื๋ว)
เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถม
กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ เป็นผู้ควบคุมดูแล
เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นเป็น
พระที่นั่งตามแบบจีน เมื่อวันที่ 27 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432
ชั้นล่าง
ชั้นล่างของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น ใช้เป็นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่ง และใช้เป็นท้องพระโรง
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ท้องพระโรงล่าง และท้องพระโรงบน
โดยบริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีน
รูปหยินหยางประดับไว้ มีพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตั้งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ
ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี 9 บท 17 แผ่นป้าย
มาประดับไว้ด้วย ส่วนท้องพระโรงบนนั้น เป็นห้องประชุมเสนาบดี และใช้เป็นที่ประทับ
ของรัชกาลที่ 5 โดยมีการตั้งป้าย 8 เหลี่ยมซึ่งเขียนเป็นภาษาจีนว่า “เทียน เหมง เต้ย”
และ “ว่าน ว่าน ซุย” ซึ่งแปลว่า ทรงพระเจริญหมื่น ๆ ปี และที่เพดานท้องพระโรงมีอักษร
ไทยที่เขียนเลียนแบบอักษรจีนเป็นคำว่า “กิม หลวน เต้ย” ซึ่งแปลว่า โอรสจากสวรรค์
ชั้นบน
ห้องชั้นบนของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ประกอบด้วย 4 ห้องใหญ่ ได้แก่ ห้องบรรทม
สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ห้องทรงพระอักษร และห้องพระป้าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ห้องทรงพระอักษร
ห้องทรงพระอักษรตั้งอยู่ในทางทิศใต้ของพระที่นั่ง ภายในห้องมีโต๊ะทรงพระอักษร
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตั้งอยู่ ปัจจุบัน ใช้เป็นที่เก็บหนังสือภาษาจีนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
ห้องพระป้าย
ห้องพระป้ายติดกับห้องทรงพระอักษรเป็นที่ประดิษฐานพระวิมาน 3 องค์ติดต่อกัน
เรียงจากทิศตะวันตก ไปตะวันออก ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ลงรักปิดสีทองอร่าม
• ช่องตะวันตกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433
• ช่องกลางเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
• ช่องตะวันออกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก(อักษรจีน) พระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470
นอกจากนี้ เสาด้านหน้าพระวิมานได้แขวนป้ายสุภาษิตจีนได้ โดยด้ายซ้ายแปลว่า “ในหมู่ชนจะหา
ความสามัคคีธรรมเสมอพี่น้องได้ยาก” และด้านขวา แปลได้ว่า “ในใต้หล้าจะหาความผิดในพ่อแม่ไม่มี”
นอกจากนี้ ยังมีห้องอีก 2 ห้อง ได้แก่ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โดยห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถนั้น ตั้งอยู่ด้าน
ทิศตะวันออกของพระที่นั่ง ภายในมีพระแท่นบรรทม 2 องค์ สำหรับทรงใช้ในฤดูร้อนและฤดูหนาว
เพดานเหนือพระแท่นมีการแกะสลักลายมังกรดั้นเมฆ ซึ่งหมายถึง พระมหากษัตริย์ที่คอยปกป้องคุ้มครอง
พระมเหสี

หอวิฑูรทัศนา อยู่ในพระราชวังบางปะอินอยู่ในพระราชฐานชั้นใน
ตั้งอยู่ระหว่างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นภายในพระราชวังบางปะอิน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน
พ.ศ. 2424 พร้อมทั้งได้พระราชทานนามหอนี้ว่า “หอวิฑูรทัศนา”
ใช้สำหรับเป็นที่เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรภูมิประเทศโดยรอบของพระราชวัง
กล่าวกันว่าเมื่อแรกสร้างนั้น ยังมองเห็นช้างป่าเป็นโขลง ๆ เดินอยู่ตามชายทุ่ง
หรือถ้าขึ้นไปดูในช่วงฤดูทำนาก็จะเห็นความงามของทุ่งนาในช่วงต่าง ๆ
จนมีคำกล่าวว่า “ดูนาที่ไหนเล่า ไม่เท่าที่บางปะอิน”
หอวิฑูรทัศนามีความสูง 30 เมตร ลักษณะเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น 12 เหลี่ยม
ยอดหอคอยคลุมด้วยหลังคารูปครึ่งวงกลม มีสถาปัตยกรรมผสมผสานของยุโรป
ตัวอาคารทาสีแดงสลับเหลือง ภายในมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นบน 112 ขั้น
โดยแบ่งเป็น จากพื้นชั่นล่างขึ้นไปยังชั้นที่ 1 จำนวน 18 ขั้น จากชั้นที่ 1 ขึ้น
ไปยังชั้นที่ 2 จำนวน 55 ขั้น และจากชั้นที่ 2 ขึ้นไปยังชั้นที่ 3 จำนวน 39 ขั้น
นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เก๋งสำหรับประทับชมดอกไม้
และพระราชทานชื่อว่า “เก๋งบุปผาประพาส” เก๋งนี้เป็นเก๋งสร้างด้วยไม้ขนาดเล็ก
อยู่ในสวนริมสระต่อจากพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ออกไปทางทิศตะวันตก